"การติดต่อ Resume(ผู้สมัครงาน) " ข้อมูลจะเปิดเผยเฉพาะสมาชิก
สำหรับสมาชิก ต้องทำการ เข้าระบบ ก่อน
ผู้ที่ยังไม่เป็นสมาชิกสามารถ ลงทะเบียนได้ที่นี่
หรือสามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ 02-001-8800, 061-390-7800, 02-351-0087
ข้อมูลส่วนตัว

สำหรับสมาชิกเท่านั้น

ชาย (โสด)

ไทย

พุธ

13-กุมภาพันธ์-2537    อายุ 29ปี

185 Cm    หนัก 90 Kg

เรียน รด.ปี3
ข้อมูลการติดต่อ

สำหรับสมาชิกเท่านั้น

กรุงเทพมหานคร (บางกอกน้อย, บางพลัด)

สำหรับสมาชิกเท่านั้น

สำหรับสมาชิกเท่านั้น

สำหรับสมาชิกเท่านั้น

โทรศัพท์ , Email
ข้อมูลทั่วไป

รัฐศาสตร์

งานประจำ (Full Time)

ธุรการ, บุค, เลขานุการ

16,000บาท ขึ้นไป

4 มิ.ย. 2565

4 มิ.ย. 2565
ตำแหน่งที่สนใจ
ธุรการ, บุค, เลขานุการ
ประวัติการศึกษาสูงสุด
จบการศึกษาแล้ว ในปี พศ. ไม่ได้ระบุ
ปริญญาตรี มหาวิทรัตนบัณฑิต
ปริญญาตรี
รัฐปร
2.64
มัธยมศึกษาต้น-ปลาย โรงเรียนบ้านนายางกลักพิทยาคม
มัธยมศ
วิท-คณิต
2.51
ประวัติการทำงาน
3 ปี
มีนาคม 2562  ถึง   มิถุนายน 2565
พนักงานจ้างเหมาบริการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับสมาชิกเท่านั้น

ธุรการ ดูแลเอกสารในการจัดประชุม ดูแลการเงิน
มีนาคม 2562  ถึง   มิถุนายน 2565
พนักงานจเหมาบริการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับสมาชิกเท่านั้น

ธุรการ ดูแลเอกสารในการจัดประชุม ดูแลการเงิน
ประวัติการฝึกอบรม
ไม่ได้ระบุ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.”ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
ไม่ได้ระบุ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
การจัดสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ (รอบสอง ระดับประเทศ) วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ความสามารถ
ความสามารถทางภาษา

พูด (ดีมาก)   อ่าน (ดีมาก)   เขียน (ดีมาก)

พูด (พอใช้)   อ่าน (ดี)   เขียน (พอใช้)

ไทย 40 คำ/นาที    อังกฤษ 50 คำ/นาที

รถยนต์ ,รถจักรยานยนต์ ,

รถยนต์ ,รถจักรยานยนต์ ,

โครงการ / ผลงาน / เกียรติประวัติ / บุคคลอ้างอิง

โครงการหลัก โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
ลักษณะโครงการ โครงการใหม่
ระยะเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2569
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.)
ที่ปรึกษาโครงการ 1. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง
2. นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นายฐาปณัฐ อุดมศรี
2. นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์
3. นางสาวอัญญรัตน์ ขาวทอง

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีประเด็นความท้าทายการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งในมิติเศรษฐกิจ
ที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจยังไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมได้อย่างเต็มที่ ผลิตภาพการผลิตของ
ภาคบริการและภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ คุณภาพและสมรรถนะของแรงงานยังไม่สอดคล้องกับ
ความต้องการในการขับเคลื่อนประเทศ มิติทางสังคมที่ประสบปัญหาในการยกระดับรายได้ของประชาชน การแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคุณภาพและการขยายโอกาสในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะ มิติสิ่งแวดล้อมที่การฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และมิติของการบริหารจัดการภาครัฐที่ยังขาด
ความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการในการแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, 2561)
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานลดลงและประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ การเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนจากการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคและ
การเปิดเสรีด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดความท้าทายในการพัฒนาประเทศทั้งในมิติความมั่นคง เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์ที่รอบคอบและครอบคลุมเพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน โดยการพัฒนาประเทศในช่วงระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ จะมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่สาม
ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยคนไทยมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิด ที่ถูกต้อง
มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ ๓ และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง
เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง
ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย ๗ ประเด็น ได้แก่ ๑) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม ๒) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต
๓) ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ๔) การตระหนักถึง
พหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย ๕) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้านกาย ใจ
สติปัญญา และสังคม ๖) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และ 7) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษา
ที่ครอบคลุมในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เท่าเทียมกับ
การจัดการศึกษาในระดับนานาชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนอง
ต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผ่านโครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
อย่างหลากหลาย
กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เป็นกลุ่มงานสำคัญภายใต้โครงสร้าง
ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานโครงการเพื่อส่งเสริม
ให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา โดยการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษาในทุกระดับ
ทุกประเภท และการสร้างระบบการศึกษาเพื่อเป็นเลิศทางวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งผลการดำเนินงานตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบว่า โครงการต่าง ๆ ของกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.)
ได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการจัดการศึกษา
วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลก
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพียงด้านใดด้านหนึ่งจึงไม่เพียงพออีกต่อไป
กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เห็นควรริเริ่มการดำเนินงาน “โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ” เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้
ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
ซึ่งช่วยให้เกิดการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย โดยการพัฒนาและส่งเสริมพหุปัญญาผ่านครอบครัว สถานศึกษา สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยี และสามารถนำไปต่อยอดในการสร้าง
เส้นทางอาชีพ สภาพแวดล้อมการทำงาน และระบบสนับสนุนที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานการศึกษาชั้นนำ ทั้งในและต่างประเทศ ให้มีส่วนร่วมในการยกระดับการจัดการศึกษาของประเทศไทยและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพและมีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของสังคมโลกต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างพหุปัญญาของมนุษย์
ซึ่งมีความหลากหลายสู่การต่อยอดด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ
เสริมสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนและหน่วยงานการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
เชื่อมต่อระบบการจัดการศึกษาของประเทศไทยสู่การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
ในระดับนานาชาติ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคมโลก
วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับระบบสนับสนุนที่เหมาะสม
ต่อการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สถานศึกษาที่มีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

วิธีดำเนินการ
โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ เป็นโครงการหลักซึ่งประกอบด้วย
การดำเนินงานโครงการย่อย 4 โครงการ ดังนี้
3.1 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 (The C21)
3.2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” สำหรับการจัดการศึกษา
ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน
3.3 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอด
ในระดับสากล (LSC: Learning Science Co-Creation Project)
3.4 โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และการต่อยอดด้านศิลปะสู่อนาคต (Art Education for the Future)
โดยมีรายละเอียดการดำเนินงานของโครงการย่อยแต่ละโครงการ ดังนี้




















โครงการหลัก โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทย
ในศตวรรษที่ 21 (The C21)
ระยะเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2569
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หน่วยงานเครือข่าย 1. CATS Global Schools (ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา)
2. AIRMADE Agency
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนได้รับทุนการศึกษา (ค่าเล่าเรียน ระยะเวลา 1 ปี) 100% และ 50% ณ ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยรับวุฒิการศึกษา A – Level / Foundation / High School จำนวน 30 คน
2. นักเรียนได้รับทุนการศึกษา (ค่าเล่าเรียน ระยะเวลา 3 สัปดาห์) 100% และ 50%
ณ ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยรับประกาศนียบัตรจาก CATS Global Schools จำนวน 20 คน
3. นักเรียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาระยะสั้น (ระยะเวลา 3 สัปดาห์) ณ ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยรับประกาศนียบัตรจาก CATS Global Schools จำนวน 20 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนไทยได้รับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และได้ศึกษาต่อในหลักสูตร A – Level / Foundation / High School และหลักสูตรระยะสั้นโดยสถาบันการศึกษาชั้นนำในระดับนานาชาติ
การดำเนินงาน
ช่วงเวลา
กิจกรรม
หมายเหตุ
ธ.ค. 64 – ม.ค. 65
สพฐ. CATS Global Schools และ AIRMADE Agency ลงนามบันทึก
ความเข้าใจ (MOU)
ร่าง MOU
ส่งกรรมการพิจารณา MOU
พิธีลงนาม
โดย ผู้บริหาร สพฐ. , ผู้บริหาร CATS Global Schools และ ผู้บริหาร AIRMADE Agency



ธ.ค. 64 – ก.พ. 65
สพฐ. รับสมัครนักเรียนผ่านระบบออนไลน์ และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางต่าง ๆ
1. Portfolio
2. Transcript ม.4
3. ผลการสอบ IELTS หรือ TOEFL หรือ
ผลการเรียน e-learning
จาก iedacademy



1 มี.ค. 65
สพฐ. ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
รอบที่ 1


มี.ค. 65
นักเรียนยืนยันตารางการสอบสัมภาษณ์และผู้ปกครองส่งเอกสารเพิ่มเติม
ผ่านระบบออนไลน์


มี.ค. – พ.ค. 65
นักเรียนสอบสัมภาษณ์รอบที่ 1
โดย CATS Global Schools (Thailand)
1 มิ.ย. 65
สพฐ. ประกาศผลผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์รอบที่ 1 และแจ้งทุนการศึกษาที่เหมาะสมกับนักเรียน
1. ประเทศที่เหมาะสมกับนักเรียน
2. จำนวนทุนที่มีสิทธิ์เลือกรับ (100%/ 50%)
มิ.ย. 65
นักเรียนส่งเอกสารยืนยันการเลือกรับทุนให้ สพฐ.
เอกสารยืนยันการเลือกรับทุนที่ลงนามโดยนักเรียน ผู้ปกครองและผู้อำนวยการโรงเรียน
มิ.ย. 65
นักเรียนสอบสัมภาษณ์รอบที่ 2 และ
สอบข้อเขียนวิชาคณิตศาสตร์
เฉพาะผู้เลือกรับทุนการศึกษา 100% ประเทศอังกฤษ
โดย CATS Global Schools
ก.ค. 65
พิธีมอบทุนการศึกษา เซ็นสัญญาและปฐมนิเทศ
1.โดยรัฐมนตรี ศธ.
2. ผู้แทนจากสถานเอกอัคราชฑูต
3. ผู้ปกครองชำระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มเติม
ก.ค. - ส.ค. 65
การเตรียมความพร้อมเอกสารการเดินทางและการศึกษาต่อต่างประเทศ
ตรวจร่างกายวีซ่า
หนังสือขออนุญาต
เรียนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
โดย AIRMADE Agency
ก.ย. 65
เดินทางไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
โดย สพฐ. และ AIRMADE Agency



โครงการหลัก โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1”
สำหรับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน
ระยะเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2569
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หน่วยงานเครือข่าย 1. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
2. มหาวิทยาลัยกวางสี (Guangxi University) สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนผ่านการพิจารณาเข้าร่วมโครงการ และศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน จำนวน 3 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 150 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะภาษาจีนและมีโอกาสได้รับทุนการศึกษา
เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
2. ครู และผู้บริหาร ได้รับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านภาษาจีนที่มีประสิทธิภาพ
จากสถาบันสอนภาษาจีนชั้นนำของประเทศ
การดำเนินงาน
ช่วงเวลา
กิจกรรม
หมายเหตุ
เม.ย. 64
สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)
ร่าง MOU
ส่งกรรมการพิจารณา MOU
พิธีลงนาม
โดย ผู้บริหาร สพฐ. ,
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ประเทศไทย และ
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกวางสี
สาธารณรัฐประชาชนจีน
1 พ.ย.64–30 พ.ค.65
สพฐ. ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน
ในสังกัดที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สมัครเข้าร่วมโครงการ


10 พ.ย.64–30 พ.ค.65
สพฐ. ร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย ดำเนินการจัดสอบ และพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเข้าร่วมโครงการ รุ่นละ 50 คน
โดยใช้เกณฑ์การพิจารณา
ที่ผ่านการเห็นชอบจาก สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
รุ่นละ 3 ปี
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีนร่วมพัฒนานักเรียน
ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
ธุรกิจจีน-อาเซียน ที่จัดการเรียน
การสอนโดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย จำนวน 2 ปี (ในปีที่ 1 และปีที่ 4) และ จัดการเรียนการสอนโดยมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 2 ปี
(ในปีที่ 2 และปีที่ 3) โดยมี สพฐ.
ให้การสนับสนุนและกำกับติดตามอย่างเป็นระบบ
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการศึกษาตามประกาศมหาวิทยาลัยสวน ในระยะเวลา 4 ปี ด้วยตนเอง โดยนักเรียน
ที่มีความเป็นเลิศจะได้รับ
การคัดเลือกให้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน หรือทุนการศึกษาบางส่วนจากรัฐบาลจีนหรือ
จากมหาวิทยาลัยกวางสี
ในระหว่างศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จำนวนอย่างน้อย รุ่นละ 3 ทุน )
ก.ย. 65
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผลโครงการ
สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
ต.ค. - พ.ย. 65
ถอดบทเรียน วิจัยและพัฒนานวัตกรรม
โดย สพฐ. มหาวิทยาลัย
สวนดุสิต ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน



โครงการหลัก โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดในระดับสากล (LSC : Learning Science Co-Creation Project)
ระยะเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2569
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หน่วยงานเครือข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เป้าหมายเชิงปริมาณ
นักเรียนผ่านการพิจารณาเข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะโครงงานวิทยาศาสตร์ จำนวน
ปีละ 150 คนและได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน ปีละ 9 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาทักษะการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และมีโอกาส
ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี พร้อมทั้งรับทุนการศึกษาระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2. ครู ได้รับการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศ
การดำเนินงาน
ช่วงเวลา
กิจกรรม
หมายเหตุ
พ.ย. – ธ.ค. 64
ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดย สพฐ. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ย. 64– ม.ค. 65
สพฐ. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)
โดย สพฐ. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ม.ค. – มี.ค. 65
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พัฒนา
สื่อการสอน และนวัตกรรมการพัฒนา
การเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับโรงเรียนนำร่อง


มี.ค. – พ.ค. 65
สพฐ. รับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ


พ.ค. – ก.ค. 65
สพฐ. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ร่วมพิจารณาคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้ารับ
การพัฒนา และประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ


31 ก.ค. 65
สพฐ. ประกาศผลการคัดเลือกโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ชนะเลิศ




ส.ค. – พ.ย. 65
สพฐ. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พานักเรียนเข้าแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ
โดย สพฐ. และหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ย. – ธ.ค. 65
นักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ
ยื่นเอกสารเข้าศึกษาต่อในหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รอบ Portfolio



โครงการหลัก โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ
โครงการย่อยที่ 4 โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และการต่อยอดด้านศิลปะสู่อนาคต
(Art Education for the Future)
ระยะเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569
หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หน่วยงานเครือข่าย 1. สาขาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. สาขาศิลปะการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
3. Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA)
ประเทศอังกฤษ
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะด้านทัศนศิลป์และด้านศิลปะการแสดง
ผ่านกิจกรรมการพัฒนาโดยสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศ จำนวน 100 คน
2. นักเรียนได้รับทุนการศึกษาด้านทัศนศิลป์และด้านศิลปะการแสดงเพื่อศึกษาต่อ
ณ Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA) ประเทศอังกฤษ จำนวน 30 คน
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางศิลปะด้านทัศนศิลป์และด้านศิลปะการแสดง และ
ได้ศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ในสถาบันการศึกษาศิลปะระดับนานาชาติ
การดำเนินงาน
ช่วงเวลา
กิจกรรม
หมายเหตุ
พ.ย. 64 – ธ.ค. 64
ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดย ผู้บริหาร สพฐ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA)
พ.ย. 64 - ม.ค. 65
พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และ
การต่อยอดด้านศิลปะการแสดง
(Pilot Study)
สพฐ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA)
พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และ
การต่อยอดด้านทัศนศิลป์
(Pilot Study)
สพฐ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA)
ก.พ. - มี.ค. 65
สพฐ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)





มี.ค. 65 - เม.ย. 65
สพฐ. รับสมัครนักเรียนผ่านระบบออนไลน์ และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านช่องทางต่าง ๆ


พ.ค. 65 – มิ.ย. 65
สพฐ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA)
ดำเนินการพัฒนาและคัดเลือกนักเรียน
ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น
- คัดเลือกนักเรียนรับทุนการศึกษา 100% และ 50% ด้าน Visual Arts เพื่อศึกษาต่อระดับ High School
ณ CSVPA
- คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (รอบ Portfolio)
สพฐ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Cambridge School of Visual & Performing Arts (CSVPA)
ดำเนินการพัฒนาและคัดเลือกนักเรียน
ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น
- คัดเลือกนักเรียนรับทุนการศึกษาด้าน Performing Arts 100%
และ 50% เพื่อศึกษาต่อระดับ High School ณ CSVPA
- คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อ
ระดับปริญญาตรี ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รอบ Portfolio)
ก.ค. 65
พิธีมอบทุนการศึกษา เซ็นสัญญาและปฐมนิเทศ
โดยรัฐมนตรีว่าการระทรวงศึกษาธิการ
ก.ค. - ส.ค. 65
การเตรียมความพร้อมเอกสารการเดินทางและการศึกษาต่อต่างประเทศ
โดย CSVPA
ก.ย. 65
เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ
โดย สพฐ. และ CSPVA
ต.ค. - พ.ย. 65
ถอดบทเรียน วิจัยและพัฒนานวัตกรรม
โดย สพฐ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธ.ค. 65 - ม.ค. 66
นักเรียนที่ผ่านการพิจารณา
สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
โดย สพฐ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



งบประมาณ
โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อยกระดับ
การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยการจำแนกงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณจากหน่วยงานภาคเอกชน จำนวนร้อยละ 80 และงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 20
โดยใช้งบประมารณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ผลผลิตที่2 ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ กิจกรรมหลัก การจัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นสำหรับโรงเรียนปกติ โครงการส่งเสริมและคัดเลือกนักเรียนไปแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร่วมกับมูลนิธิ สอวน. จำนวน 1,215,600 บาท (หนึ่งล้านสองแสนหนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) จำแนกรายละเอียด ดังนี้
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทย
ในศตวรรษที่ 21 (The C21) งบประมาณ 250,000 บาท
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” สำหรับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน งบประมาณ 150,000 บาท
โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดในระดับสากล (LSC : Learning Science Co-Creation Project) งบประมาณ 400,000 บาท
โครงการย่อยที่ 4 โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และการต่อยอดด้านศิลปะสู่อนาคต
(Art Education for the Future) งบประมาณ 400,000 บาท

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเสริมสร้างพหุปัญญาของมนุษย์อย่างเต็มรูปแบบและสามารถต่อยอดนักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ
ในด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพ
เครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ได้รับ
การพัฒนาอย่างเข้มแข็งด้วยความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชนและหน่วยงานการศึกษาชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
ประเทศไทยมีระบบในการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพกับหน่วยงาน และสถาบันอื่น ๆ ในระดับนานาชาติ
ประเทศไทยมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลการวิจัยและนวัตกรรมการจัดการศึกษาที่สามารถยกระดับองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดที่เหมาะสมกับสถานศึกษา และสภาพแวดล้อม



ผู้รับผิดชอบโครงการ
6.1 นายฐาปณัฐ อุดมศรี นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หมายเลขโทรศัพท์ 091 - 5541696
6.2 นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หมายเลขโทรศัพท์ 091 - 7641350
6.3 นางสาวอัญญรัตน์ ขาวทอง นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
หมายเลขโทรศัพท์ 096 - 9463589

สำหรับสมาชิกเท่านั้น
"การติดต่อ Resume(ผู้สมัครงาน) " ข้อมูลจะเปิดเผยเฉพาะสมาชิก
สำหรับสมาชิก ต้องทำการ เข้าระบบ ก่อน
ผู้ที่ยังไม่เป็นสมาชิกสามารถ ลงทะเบียนได้ที่นี่
หรือสามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ 02-001-8800, 061-390-7800, 02-351-0087
หาพนักงาน ธุรการ, บุค, เลขานุการ
JobTH.com
บริษัท เน็ต แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด
เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี 0-1055-48148-53-1

ติดตามเรา
        

ลงโฆษณาติดต่อได้ที่
โทร : 02-001-8800, 061-390-7800, 02-351-0087
แฟกซ์ : 02-001-8804 - 05

มีปัญหาการใช้งาน

วันเวลาทำการ
จันทร์-ศุกร์ : 8:00-17:00  เสาร์ 9:00-16:00

Copyright 2008-2024, All Rights Reserved.